AEC เป็นอีกหนึ่งโอกาสสำหรับอุตสาหกรรมสปาไทย ที่จะขยายตลาดของการเป็นผู้ดำเนินการสปาอย่างมืออาชีพ เข้าสู่ตลาดอาเซียน ไม่มีเหตุผลและเป็นไปไม่ได้ ของการปิดตัวของสปาโดยเฉพาะสปาที่จดทะเบียนถูกต้อง 1,500 แห่งทั่วประเทศไทยกับกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งเป็นความสมัครใจ ของผู้ประกอบการสปาที่มีความพร้อมในมาตรฐานที่กำหนดขึ้น
โอกาสที่จะเพิ่มมากขึ้นที่สำหรับการเจริญเติบโตของธุรกิจสปา ทำให้ประเทศไทยมีการเพิ่มมาตรฐานและปรับปรุงทั้งในแง่ของบุคลากรและคุณภาพในการให้บริการ เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) กระทรวงพาณิชย์ชี้ให้เห็นว่าธุรกิจสปาของไทยมีการเติบโตร้อยละ 5-6ต่อปี มูลค่าตลาดของอุตสาหกรรมนี้อยู่ระหว่าง 15และ 16พันล้านบาทต่อปี ลูกค้าที่เป็นนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติมีจำนวนร้อยละ 80ต่อปี ซึ่งถือว่าเป็นลูกค้ากลุ่มใหญ่ของธุรกิจสปา ประเทศไทยเป็นผู้นำในเอเชียด้านสปาและคู่มือธุรกิจ เพื่อใช้เป็นแนวทางสำหรับนักลงทุน โดยประเทศไทยได้นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับการทำสปาแบบไทย โดยเน้นที่ลักษณะการดำเนินการพร้อมกับ การตลาดและการวิเคราะห์ทางการเงิน สิ่งอำนวยความสะดวกและการตกแต่งภายในที่สอดคล้องกับ ระเบียบข้อบังคับของท้องถิ่นและลักษณะทางวัฒนธรรม
บริการสปาไทยเป็นที่นิยมทั่วโลก หลังจากที่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนมีผลบังคับใช้เต็มรูปแบบ สปาไทยมีแนวโน้มที่จะดึงดูดลูกค้าจากอาเซียนมากขึ้นและแนวโน้มที่จะเติบโตแบบก็มีความเป็นไปได้สูง
ประเทศไทยมีมาตรฐานด้านวิชาชีพเฉพาะสำหรับบุคลากรที่ทำงานในธุรกิจสปา โดยผู้ประกอบการสปาจะต้องได้รับการรับรองจากสถาบันมาตรฐานการประกอบอาชีพ ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการบริการสปาให้มีมาตรฐานในระดับเดียวกันทั้งประเทศ
นอกจากนี้ประเทศไทยยังจะเป็นประเทศแรกในอาเซียนที่จะกำหนดวุฒิวิชาชีพสำหรับบุคลากรสปา วุฒิการศึกษาที่ได้จะแบ่งออกเป็น5 ระดับ คือ ระดับพนักงงานบริหารจัดการทั่วไป, ระดับแผนกต้อนรับภายในสปา, ระดับพนักงงานฝึกอบรบ, ระดับพนักงงานปฎิบัติการให้บริการสปาและระดับการดูกิจการสปาในภาพรวมทั้งหมด
ประเทศไทยมีชื่อเสียงมากในฐานะที่เป็นสถานที่ยอดเยี่ยมสำหรับบริการสปาในเอเชีย การสร้างรายได้ผ่านบริการนวดและการรักษาความงาม จึงสร้างช่องทางสำคัญสำหรับผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่ใช้ใน สปา ซึ่งถือว่าเป็นการเพิ่มตลาดให้กับผลิตภัณฑ์สมุนไพรอีกทางหนึ่ง นั้นทำให้การเพิ่มมาตรฐานของธุรกิจสปาในประเทศไทยจะเป็นการสร้างเศรษฐกิจที่มั่นคงให้ประเทศอีกทางหนึ่งในอนาคต
การพัฒนาทางด้านธุรกิจไทยสปา เพื่อก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในปี 2558 สิ่งสำคัญจะต้องพัฒนา ได้แก่ ด้านการศึกษา โดยเฉพาะภาษาเพื่อใช้ในการสื่อสาร ทั้งภาษาอังกฤษ หรือภาษาอื่นๆ การพัฒนาทางด้านความคิดนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อสร้างความแตกต่างให้กับไทยสปา การผลิตบุคลากรที่เป็นคนไทยในการให้บริการ ซึ่งตลาดมีความต้องการบุคลากรด้านสปาที่เป็นคนไทยมากกว่าชาติอื่นๆ เพราะตลาดมองว่าจะได้ความรู้สึก และได้รับการบริการที่เป็นไทยสปาอย่างแท้จริง ขณะที่ทางสมาคมธุรกิจสปาเองได้จัดเทรนนิ่ง ฝึกอบรมการให้ความรู้ ทั้งในระดับพนักงานผู้ให้บริการ และในระดับผู้บริหารอย่างต่อเนื่องอีกด้วย